http://pamong1.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

อบรมโภชนาการด้านประมง

ส่งเสริมด้านโภชนาการ

โครงการ "ผู้เฒ่าเฝ้าบ่อปลา"

ให้ความรู้ด้านการประมงแก่องค์กรอื่นๆ

ผีตาโขน(ดูที่Gallery )

ผังอัตรากำลัง

โครงการส่งเสริมด้านการประมง

โครงการประมงอาสา

โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนด้านการประมง

โครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง

งานบริการด้านการประมงอื่น ๆ

เรื่องน่ารู้

สถิติ

เปิดเว็บ19/09/2010
อัพเดท01/09/2017
ผู้เข้าชม125,498
เปิดเพจ159,579
iGetWeb.com
AdsOne.com

ขี้ปลาวาฬ คืออะไร?

การเกิด Eutrophication  ในแหล่งน้ำ

 

เราคงเคยมีโอกาสไปเที่ยวทะเลตามสถานที่ต่าง ๆ บางครั้งหากสังเกตตามทะเล จะมีลักษณะสีเปลี่ยนไปจากเดิม สิ่งเหล่านี้คือ ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการ Eutrophication (discoloration of water) หรือภาวะที่แหล่งน้ำมีปริมาณธาตุอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) สูงมากกว่าระดับปกติ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการชะล้างปุ๋ยและธาตุอาหารต่าง ๆ บริเวณพื้นที่เกษตรลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้สาหร่ายและแพลงก์ตอนเจริญเติบโตและขยายจำนวนอย่างรวดเร็ว แพลงก์ตอนเหล่านั้นต่างมีสีในตัวของมันเอง จึงทำให้น้ำทะเลมีสีเปลี่ยนไปตามสีของแพลงก์ตอนที่มีมากขึ้น เช่น สีเขียว น้ำตาล เหลือง ขาว น้ำตาลแดง หรือสนิมเหล็ก ในต่างประเทศ "น้ำ" มักเปลี่ยนเป็นสีแดง จึงเรียกกันว่า "Red Tide"

eutrophication หรือ ที่เรารู้จักกันดี คือปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี ซึ่งถ้าหากเกิดปรากฏการณ์นี้ในน้ำทะเลมักจะเรียกว่า “ขี้ปลาวาฬ”  eutrophication เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดจากการที่แหล่งน้ำต่างๆอุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ซึ่งมาจากการปล่อยน้ำทิ้งจากการเกษตร อุตสาหกรรมการซักล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ปริมาณฟอสฟอรัสและไนโตรเจนสูงขึ้น ส่งผลให้สาหร่ายในแหล่งน้ำนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีและรวดเร็ว ทำให้เราเห็นน้ำเปลี่ยนเป็นสีเขียว หรือสีน้ำตาลขึ้นอยู่กับชนิดของสาหร่ายว่าเป็นชนิดใด เมื่อเกิด eutrophication  ในแหล่งน้ำ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ สิ่งมีชีวิตในน้ำอื่นๆ จะตายเป็นจำนวนมาก และมีกลิ่นเหม็น เน่าเสีย เนื่องจากสาหร่ายในน้ำจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจึงทำให้มีปริมาณสาหร่ายที่หนาแน่น และจะไปกั้นแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านลงไปใต้น้ำได้ ทำให้พืชที่อยู่ใต้น้ำไม่สามารถสังเคราะห์แสงและตายในที่สุด ส่งผลให้สัตว์อื่นที่กินพืชเหล่านั้นเป็นอาหารขาดแหล่งอาหารทำให้สัตว์เหล่านั้นตายในที่สุด

 
Cultural Eutrophication (Larger View)

สำหรับในประเทศไทย เหตุการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทั่วไปของอ่าวไทยเป็นประจำแทบทุกฤดูกาล โดยจะเห็นทะเลเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ผิดจากสีน้ำทะเลปกติ มีกลิ่นเหม็นและลักษณะเป็นตะกอนแขวนลอยในน้ำเป็นหย่อมหรือแถบยาวมีแนวตามทิศทางของกระแสลมและคลื่น ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ชาวประมงเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของสัตว์น้ำบางชนิดได้ อาทิ เป็นอุปสรรคกีดขวางทางอพยพของปลาทูทำให้ฝูงปลาต้องเดินทางกลับลงใต้เร็วกว่าปกติ 1 เดือน นอกจากนั้นยังปรากฏว่าสัตว์น้ำตายแต่ไม่มีข้อมูลปริมาณและการสูญเสียที่แน่นอน

บางครั้งเราจะเห็นปลาบางชนิดตาย ภายหลังการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี ก็เนื่องมาจากออกซิเจนในน้ำลดลงมากเป็นเวลานาน บางบริเวณไม่มีออกซิเจนเลย ประกอบกับปริมาณแอมโมเนียสูงกว่าปกติถึง 10 เท่า ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสีถึงจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งขยายบริเวณและมีความรุนแรงมากขึ้นก็เป็นตัวชี้ให้เห็นถึงคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมลงด้วย การเกิดน้ำเปลี่ยนสีในทะเลเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจึงไม่สามารถป้องกันหรือควบคุมได้การจัดการปัญหาน้ำเปลี่ยนสีส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการเตือนภัยและการบรรเทาผลกระทบเท่านั้น อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติที่กล่าวมานี้อาจส่งผลกระทบทางอ้อมแก่มนุษย์ได้ เช่น หากแพลงก์ตอน มีพิษในบริเวณที่เกิดสภาวะน้ำเปลี่ยนสี และหอยกินแพลงก์ตอนเหล่านั้นเข้าไป และสะสมไว้โดยไม่เป็นอันตรายต่อหอยแต่เมื่อคนบริโภคหอยดังกล่าวเข้าไปพิษจะแสดงอาการ ซึ่งพิษบางชนิดอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะน้ำเปลี่ยนสีขึ้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคหอยจากบริเวณนั้นเสีย

 

                                                             ขี้ปลาวาฬ ปรากฎการณ์เพชรฆาต                         

 

  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้น เป็นสิ่งที่สวรรค์สร้าง เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาตินับตั้งแต่โลกที่มีสัณฐานค่อนข้างกลมคือ กำเนิดขึ้นตั้งแต่ยุคแรกๆ จนถึงยุคปัจจุบัน  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้นมิหยุดหย่อน   มีทั้งที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และที่ไม่เป็นอันตราย แล้วแต่ลักษณะของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
                  ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (Red tide) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเล สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วโลก  ไม่เลือกเวลาและสถานที่ จากรายงานทางการสำรวจพบว่า  จะเกิดขึ้นทุกๆปี และบ่อยครั้งมากขึ้น ผลกระทบและความรุนแรงมากขึ้น  แต่ที่ปรากฏในประเทศไทยนั้น พบว่า เกิดขึ้นบริเวณอ่าวตอนในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชลบุรี  ตั้งแต่ชายหาดบางแสนอ่าวอุดม อ่างศิลา ไปจนถึงอำเภอศรีราชา  ระยะเวลาที่เกิดปรากฎการณ์คือ เดือนมิถุนายน – สิงหาคม เป็นช่วงต้นฤดูฝน มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน มีเมฆครึ้มในเวลากลางวันและมีคลื่นลมแรง
   สาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์
                    จากการทดลอง  ค้นคว้าและวิจัย  นักวิทยาศาสตร์พบว่า  สาเหตุหรือกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น ปลาวาฬที่แท้จริงนั้นไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัด  แต่สาเหตุที่พบในประเทศไทยแถบชายฝั่งตะวันออก จังหวัดชลบุรีนั้น  จากการวิจัยพบว่า เกิดจากการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของ “แพลงก์ตอนพืช” (bloom) เนื่องจากมีปริมาณธาตุอาหารมากและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม แพลงก์ตอนพืช หรือ “ไดโนแฟลกเจลเลต” จำพวก “Noctiluca” สายพันธุ์หนึ่งที่ตายและเริ่มสลายตัว เวลาเกิดเมฆครึ้มหรือคลื่นลมแรง น้ำทะเลจะพัดเอาซากเหล่านี้เข้าสู่ชายฝั่ง
ลักษณะของน้ำทะเล
                     เมื่อคลื่นพัดมาเอาซากของ Noctiluca จำนวนมากเข้าสู่ฝั่งน้ำทะเลบริเวณดังกล่าว จะเกิดการเน่าเสีย น้ำทะเลจะมีลักษณะสีเขียวแม้มีเมือกเหนียว มีกลิ่นคาวจัด ออกซิเจนลดลง ค่าแอมโมเนียสูงขึ้นเนื่องจากการใช้ออกซิเจนและการสลายตัวของแพลงก์ตอน คุณภาพน้ำขณะเกิดปรากฏการณ์พบว่า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีค่าเพียง 0.4 mg/l และค่าแอมโมเนียสูงถึง 1.20 mg/l  เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปลาและสัตว์บริเวณชายฝั่งตายเป็นจำนวนมาก
l
•   ไดโนแฟลกเจลเลตหรือ Noctiluca คืออะไร
                      ไดโนแฟลกเจลเลต คือ แพลงก์ตอนพืชชนิดหนึ่งเป็นสัตว์เซลเดียวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ แพลงก์ตอนพืชชั้นต่ำ (Procaryotic cell) และแพลงก์ตอนพืชชั้นสูง (Eucaryotic cell)
                        ทั้งสองชนิดมีลักษณะที่คล้ายกันคือ มีหนวดมากกว่า 1 เส้น ความยาวของหนวดจะเท่ากัน หนวดมีลักษณะเรียบบ้าง มีขนบ้าง มีสารสีประกอบ โครงสร้างภายนอกประกอบด้วยซิลิกาที่ห่อหุ้มผนังเซลล์ อาหารที่สะสมคือ แป้งหรือไพรีนอยด์ เป็นต้น


•   ผลกระทบจากปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ
ผลกระทบและความเสียหายจากปรากฏการณ์ดังกล่าว มีผลต่อหลายๆด้านด้วยกันที่พอจะสรุปได้คือ
            1.  ประชาชนเกิดความวิตกว่าปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ เป็นผลมาจากน้ำมือของมนุษย์ที่ปล่อยน้ำเสียลงทะเล โดยเฉพาะสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือเป็นภัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจและความเชื่อมั่นของประชาชน ที่สำคัญคือ ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตนเอง
             2 .  ผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง โดยทำให้เรา และสัตว์ทะเลหลายชนิดตายเป็นจำนวนมาก
             3 . ชายหาดมีความสกปรก มีกลิ่นเหม็น สร้างมลพิษทางอากาศทำให้ระบบการหายใจของประชาชนบริเวณดังกล่าวมีปัญหาต่อสุขภาพ และจิตใจ และทัศนียภาพไม่น่ารื่นรมย์
             4 . มีผลกระทบต่อการประมงชายฝั่งรวมถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชุมชนบริเวณนี้ จากรายงานการวิจัยพบว่า การทำโป๊ะ อวนลาก อวนติดตา เกิดปัญหาจับสัตว์น้ำได้ปริมาณน้อยลง  ส่วนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น ฟาร์มเลี้ยง ลูกกุ้งกุลาดำเสียหายนับร้อยราย ทำให้เกิดภาวะขาดทุนเนื่องจากต้องซื้อน้ำจากบริเวณอื่นมาใช้  ส่วนการเลี้ยงปลาในกระชังนั้น ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง บางรายถึงกับหมดเนื้อ หมดตัวก็มี โดยรวมคิดเป็นความเสียหายหลายสิบล้านบาท
            5 .  ผลกระทบทางด้านการตลาด ประชาชนขาดความมั่นใจในการบริโภคสัตว์ทะเลในระยะดังกล่าว
            6 .  ผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว เนื่องจากน้ำทะเลสกปรกมีกลิ่นเหม็น จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงส่งผลต่อภาคธุรกิจโดยรวม
จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง เพราะความรุนแรงแต่ละครั้งนำมาซึ่งความเสียหายในด้านต่างๆ ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นจึงควรหาวิธีการแก้ไขหรือเตือนภัยก่อนจะเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ  เพื่อลดความสูญเสียในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่ต้องลงทุนลงแรงอย่างมากกว่าจะได้ผลผลิตออกมาขาย


แพลงก์ตอนพืชที่เป็นอันตราย

                          แพลงก์ตอน (plankton)  คือ สิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ ส่วนใหญ่เคลื่อนที่โดยอาศัยกระแสน้ำ คลื่น และลมพัดผ่านไป และอาจเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้เพียงเล็กน้อย แพลงก์ตอนมีการปรับตัวในด้านรูปร่างและอวัยวะเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพที่มีชีวิตล่องลอยอยู่ในน้ำได้ดี เช่น การลดขนาดเซลล์ลง มีลำตัวกว้างแบน มีลักษณะรูปร่างเป็นแถบหรือเป็นเส้น บางชนิดมีเข็มพิษ และรยางค์ เป็นต้น

              แพลงก์ตอนส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่บางชนิดมีขนาดใหญ่ เช่น แมงกะพรุน แพลงก์ตอนสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) และ แพลงก์ตอนสัตว์ (Zooplankton)

                               แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton)  เป็นแหล่งอาหารเบื้องต้นในระบบห่วงโซ่อาหาร (Food chain) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย และมีหลายชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ในอาหารเสริมมนุษย์ นำมาใช้ประโยชน์เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน และนำมาใช้ในการเพาะและขยายพันธุ์แพลงก์ตอนสัตว์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่ก็มีแพลงก์ตอนพืชบางชนิดที่เป็นอันตราย และมีผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตอื่นเหมือนกัน

อันตรายที่เกิดจากแพลงก์ตอนพืช  สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

  1. อันตรายจากปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือ ขี้ปลาวาฬ (Red tide) ปรากฎการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ เกิดจากการเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็วจนทำให้น้ำเปลี่ยนสี เป็นสีเขียว สีแดง สีน้ำตาล หรือสีเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช ผลเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำได้แก่ เมื่อแพลงก์ตอนพืชตายลง ก็จะปล่อยสารที่เป็นอันตรายออกสู่แหล่งน้ำ หรือจากการที่มีปริมาณแพลงก์ตอนพืชมาก ทำให้บริเวณนั้นขาดแคลนออกซิเจน แพลงก์ตอนบางชนิดจะไปเกาะติบริเวณซี่เหงือกของปลา
  2. อันตรายจากการเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอนพืชที่สร้างสารพิษ
    (Toxic plankton bloom)
    เกิดจากการเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนพืชชนิดที่สร้างสารพิษ โดยปกติไม่ทำให้น้ำเปลี่ยนสี ซี่งมีความสัมพันธ์ในด้านห่วงโซ่อาหาร เมื่อสัตว์น้ำกินแพลงก์ตอนพืชพวกนี้เข้าไป พิษจะถูกสะสมอยู่ในตัวของสัตว์น้ำโดยที่ไม่เกิดอันตราย แต่จะไปมีผลต่อผู้บริโภค ซี่งพิษบางชนิดรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ 

แพลงก์ตอนพืชที่เป็นอันตราย

                          มีด้วยกัน 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไดอะตอม (Diatom)  สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue-green algae)  และไดโนแฟลเจลเลต (Dinoflagellate)    ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะ กลุ่มไดโนแฟลเจลเลต   ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดียว โดยมีทั้งประเภทไม่มีผนังหุ้มเซลล์ และมีผนังหุ้มเซลล์ประกอบด้วยแผ่นขนาดเล็กเรียงต่อกัน ซึ่งใช้ในการจำแนกหมวดหมู่และชนิดได้ เซลล์แบ่งเป็น 2 ซีก มีหนวด 2 เส้น ยาวไม่เท่ากัน เซลล์มีสีเหลืองแถบมีสีน้ำตาลเหลืองแกมเขียว และน้ำตาลอ่อน  จนถึงน้ำตาลเข้มเกือบดำ การดำรงชีวิตมีทั้งแบบสัตว์และแบบพืช  บางชนิดอาจลอยอยู่ในน้ำ เกาะบนวัสดุอื่นๆ หรืออาศัยอยู่ในพืชหรือสัตว์อื่นก็ได้ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีจำนวนชนิด และปริมาณรองจากไดอะตอม ตัวอย่างของไดโนเฟลเจลเลต ได้แก่

                      Noctiluca scintillans  เซลล์มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 150 - 2,000 µm  เซลล์รูปไตจนถึงรูปกลมขนาดใหญ่ ภายในเซลล์เต็มไปด้วยช่องว่าง หนวด 2 เส้น จะสั้นมาก มีแส้ (Tentacle) 1 เส้น ขนาดใหญ่และยาว ภายในเซลล์มีหยดน้ำมันที่สะท้อนแสงได้ เยื่อหุ้มเซลล์เหนียวไม่มีคลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬจะเห็นน้ำเป็นสีเขียว เนื่องจากภายในเซลล์มีสาหร่ายสีเขียวชนิด Pedinomonas noctilucae อาศัยอยู่จำนวนมาก ประมาณ 3,000 เซลล์ ซื่ง N.scintillans จะได้สารอาหารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายสีเขียวนั้นเอง

                            Ceratium furca   ส่วนบนของเซลล์เป็นรูปกรวย ปลายค่อยๆ เรียวขึ้นไปส่วยปลายสุดของเซลล์จะตัดตรง ส่วนเขา (Horn) จะอยู่ด้านล่างมักจะขนานกัน และยาวไม่เท่ากัน ข้างซ้ายจะยาวกว่าด้านขวาประมาณ 2 เท่า หรือมากกว่า ปลายสุดของเขาจะแหลม เป็นแพงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ จะเห็นน้ำเป็นสีน้ำตาล

                            Dinophysis caudata  รูปร่างคล้ายกระบอง ส่วนบนของเซลล์เป็นรูปไข่ ส่วนปลายบนสุดของเซลล์มีลักษณะคล้ายแตร ส่วนล่างยาวเรียวและเฉียงเล็กน้อย เป็นแพลงก์ตอนพืชที่สร้างสารพิษที่มีคุณสมบัติละลายน้ำ จึงสะสมอยู่ในอวัยวะภายในของกุ้ง หอยและปู ผู้บริโภคจะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง หน้ามืด อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ และกระหายน้ำ อาการจะปรากฏประมาณครึ่งชั่วโมง ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังจากได้รับพิษ อาการไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต และจะหายเป็นปกติภายใน 3-4 วันต้องใช้บริการของห้อง Lab สถานีประมงหรือศูนย์วิจัยประมง หรือมหา'ลัยใกล้ฟาร์ม ที่สามารถตรวจปริมาณฟอสฟอรัสในน้ำได้ เนื่องจากต้องใช้วิธีวิเคราะห์ทาง Colorimetric determination ด้วยเครื่อง Spectrophotometer 

                               ฟอสฟอรัสจัดเป็น growth limiting nutrient ให้เกิดการเจริญเติบโตของแพลงตอนพืชหรือสาหร่ายหรือพืชน้ำอย่ของพืชน้ำ ดังนั้นการปล่อยน้ำทิ้งที่มีฟอสฟอรัสลงในแหล่งน้ำอาจกระตุ้นางรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหา Eutrophication ในแหล่งน้ำได้ 

สารประกอบฟอสฟอรัสที่พบในน้ำมี 3 ประเภท
(1) orthophosphate ได้แก่ ฟอสเฟตที่ละลายน้ำแล้วให้ PO43-, HPO42-, H2PO4-
(2) polyphosphate ได้แก่ สารที่มีฟอสเฟตในโมเลกุลหลายๆหมู่ เช่น Na3(PO4)6, Na5P3O10, Na4P2O7 สารเหล่านี้เป็น dehydrated phosphate จึงถูกไฮโดรไลส์ในน้ำกลั่นเป็น orthophosphate ได้
(3) organic phosphates ได้แก่ สารอินทรีย์ต่างๆที่มีฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ เช่น nucleic acid, phospholipids, sugar phosphate 

                            การวิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัสในแหล่งน้ำมักวิเคราะห์ในรูปของ Total phosphate หรือ Total-P เพราะฟอสฟอรัสอาจจะอยู่ในรูปของสารแขวนลอยหรือ combine กับสารอินทรีย์
มาตรฐาน ACC กำหนดให้ Soluble phosphorus จากน้ำทิ้งของบ่อกุ้งมีค่าไม่เกิน 0.3-0.5 (mg/L) ในรอบเดือน (หรือวิเคราะห์เดือนละครั้ง) 

                         ส่วนค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์นั้นต้องสอบถามทางห้อง Lab ในพื้นที่ดูนะครับ เท่าที่ทราบตัวอย่างละ 250-500 บาท สำหรับวิเคราะห์ในรูปของ Total phosphate ส่วนการวิเคราะห์ในรูป Soluble phosphate นั้นต้องสอบถามทางห้อง Lab ก่อนนะครับ

ความแตกต่างของการเกิด Eutrophication และ Red tide

                         Eutrophication หมายถึงสภาวะที่น้ำบริเวณหนึ่งมีอาหารพืชละลายอยู่มากจนทำให้พืชที่ใช้ออกซิเจนงอกงามมากกับตายมากขึ้นผิดปกติจนเป็นผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น 


                          Red tide หมายถึงสภาวะที่พืชเซลล์เดียว (algae) งอกงามมากกว่าปกติจนทำให้น้ำทะเลในบริเวณนั้นมีสีแดงเพราะสีแดงที่อยู่ใน algae (คำว่า tide แปลว่ากระแสน้ำขึ้นน้ำลง เขาเรียก red tide เพราะน้ำทะเลที่ขึ้นลงนั้นมีสีแดงจากสีของ algae)

                          ถ้าดูจากคำจำกัดความข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าสองกรณีนี้เกี่ยวข้องกันแต่ไม่เหมือนกัน Red tide อาจเกิดผลร้ายต่อสิ่งที่มีชีวิตที่กิน algae พวกนี้ หรือ มีผลร้ายต่อสัตว์หรือคนที่กินสิ่งมีชีวิตที่กิน algae พวกนี้ไว้ เช่นคนไปกินหอยแมงภู่ที่กิน algae พวกนี้ไว้อาจป่วยถึงตายได้ ทั้งๆที่ตังหอยแมงภู่เองไม่เป็นไร แต่คนกินปลาหรือเนื้อหอยเชลล์ (scallops) ที่กิน algae พวกนี้ไว้ได้เพราะเวลากินปลาไม่ได้กินกระเพาะหรือลำไส้ปลา เวลากินหอยเชลล์ก็กินเฉพาะกล้ามเนื้อที่ปิดเปิดฝาหอยไม่ได้กินทั้งตัวไม่เหมือนเวลากินหอยแมงภู่

                      ถ้ากินหอยแมงภู่ที่กิน algae ที่ทำให้เกิด Red tide บางอย่างจะทำให้ป่วยเป็นโรคได้ ๓ อย่างคือ
 - Paralytic shellfish poisoning (PSP) เกิดเป็นอัมพาต หายใจไม่ออก ถึงตายได้ ดูเหมือนไม่มีทางรักษ--- Diarrhetic shellfish poisoning (DSP) อาเจียร ท้องเดิน มาก
 - Amnetic shellfish poisoning (ASP) พิษไปมีผลต่อสมองทำให้งง ความจำเสื่อม อาจถาวร

  

ผลของการเกิด Eutrophication ที่มีต่อสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำ

ตัวอย่างการเกิด Eutrophication  ในแหล่งน้ำของประเทศ 

สารไนเตรทรุกแหล่งน้ำ
ผลพวงเกษตรกรโหมใส่ “ปุ๋ย”
                           มีข้อมูลว่า ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีในภาคการเกษตรอย่างมาก ขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มีข้อมูลฝั่งตรงกันข้ามที่เป็นการติดตามผลหลงจากการใช้สารเคมีว่ามีผลต่อสิ่งแวดล้อมดิน น้ำ มากน้อยแค่ไหน อย่างไร ออกมาให้สังคมรับรู้
/
                         เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีผลงานวิจัยของกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ศึกษาถึงผลกระทบหลังการใช้ปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรของไทย โดยในการทำวิจัยของกรีนพีซฯ ได้ประยุกต์ข้อมูลบางส่วนและวิธีการศึกษาของ Reyes Tirado นักศึกษาจาก University of Exeter ประเทศอังกฤษ ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมการใส่ปุ๋ยในปริมาณเกินความจำเป็นของเหล่าเกษตรกรในประเทศอังกฤษ ที่ทำการเกษตรแบบอุตสาหกรรม จนเกิดการรั่วซึมของปุ๋ยและสารเคมีสู่แหล่งน้ำของชุมชน มาประยุกต์สำรวจสภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและการปนเปื้อนของปุ๋ยเคมีในแหล่งน้ำสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของประเทศไทย 

                       โครงการที่สำรวจโดยเก็บตัวอย่างภาคสนามในประเทศไทยมีขึ้นใน 3 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.กาญจนบุรี และ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งผลพบว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดมีการปนเปื้อนของสารไนเตรทสะสมอยู่ในแหล่งน้ำ และน้ำบาดาลในชุมชนในปริมาณที่เกินมาตรฐาน 

                       ทีมนักวิจัยกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย Reyes Tiraso, ณัฐวิภา อิ้วสกุล และภาสธร สันต์ธนะพัฒน์ โดยณัฐวิภาเป็นผู้แถลงงานวิจัยว่า สิ่งที่กรีนพีซต้องทำการศึกษาในเรื่องนี้ ก็เพื่อประเมินสถานการณ์ของมลพิษทางน้ำอันเนื่องมาจากเกษตรกรรม โดยมุ่งประเด็นไปที่การหาปริมาณไนเตรท (Nitrate) หรือเกลือไนเตรทที่ใช้ในการเกษตร ว่ามีการปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่ม เช่น น้ำใต้ดิน หรือบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมหรือไม่ เพื่อดูผลกระทบจากการใช้ปุ๋ยในภาคเกษตรกรรมต่าง ๆ ต่อคุณภาพของแหล่งน้ำธรรมชาติ 

                          ขั้นตอนการวิเคราะห์ เริ่มจากเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดินที่ทำเกษตรกรรมหลายประเภท อาทิ นาข้าว แปลงข้าวโพด ฯลฯ ใน จ.เชียงใหม่ กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ในช่วงระยะเวลา 1-5 ต.ค.2550 ซึ่งแต่ละจุดจะเก็บตัวอย่างน้ำเพียง 1 ตัวอย่าง น้ำใต้ดินทั้งหมดเก็บจากบ่อน้ำบาดาลบริเวณแปลงเกษตรหรือบริเวณบ้านเรือนรอบพื้นที่เกษตรกรรม โดยเปิดให้น้ำไหลผ่าน 3 นาที แล้วจึงเก็บตัวอย่าง และนำไปวิเคราะห์หาปริมาณไนเตรททันที หรือไม่เกิน 6-10 ชั่วโมง จากช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างน้ำ 1 แหล่ง จะถูกวิเคราะห์ค่าการดูดกลืนแสง หรือ Chromotropic Acid Method ซ้ำประมาณ 2-3 ครั้ง โดยเครื่องมือ Portable Spectrophotometer เพื่อหาค่าเฉลี่ย 

                        สมาชิกกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนเดิม อธิบายถึงผลที่ได้จากการวิเคราะห์ว่า ผลการศึกษาพบว่าแหล่งน้ำใต้ดินบริเวณพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมมีมลพิษจากไนเตรทปนเปื้อนสูงมาก และสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำการเกษตรในรูปแบบอุตสาหกรรม ที่เน้นการเร่งผลิตโดยโหมใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เกินความจำเป็น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคกลาง อันได้แก่กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ซึ่งแปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่งในกาญจนบุรี เป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีปริมาณไนเตรทปนเปื้อนสูงมากในแหล่งน้ำชุมชน 

                         จาก 11 ตัวอย่างที่เก็บเฉพาะพื้นที่ใน จ.กาญจนบุรี พบว่ามี 4 ตัวอย่างที่มีปริมาณไนเตรทสูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อลิตร แบ่งเป็นสูงถึง 150 มิลลิกรัมต่อลิตร 1 ตัวอย่าง, 140 มิลลิกรัมต่อลิตร 1 ตัวอย่าง, 55 มิลลิกรัมต่อลิตร 2 ตัวอย่าง ส่วนที่ใกล้เคียงค่ามาตรฐานประมาณ 46-48 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเพียง 2 ตัวอย่าง ขณะที่อีก 5 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของไนเตรทเช่นเดียวกัน 

                         ด้านคุณภาพน้ำใต้ดินของ จ.สุพรรณบุรี 2 ใน 5 ตัวอย่างน้ำมีการปนเปื้อนไนเตรทสูงกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้เช่นกัน โดยมีค่าไนเตรทประมาณ 58 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แต่ใน จ.เชียงใหม่ แหล่งตัวอย่างน้ำทั้ง 8 ตัวอย่าง พบสารไนเตรทปนเปื้อนในปริมาณที่น้อยมาก ไม่ถึง 20 มิลลิกรัมต่อลิตร
         “ที่กาญจนบุรีมีการปลูกหน่อไม้ฝรั่งหมุนเวียนตลอดทั้งปี ลองคิดดูว่าการปลูกผักชนิดนี้จะต้องใช้แรงงานคน น้ำ และปุ๋ยเป็นจำนวนมาก ต้องให้น้ำใส่ปุ๋ยทุกวัน ให้ฮอร์โมนและใส่ยาฆ่าแมลงทุกอาทิตย์สารเคมีเจือปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำชุมชนในปริมาณมากน้อยเพียงใดโดยจากคำบอกเล่าของเจ้าของแปลงระบุว่า มีการใส่ปุ๋ยในจำนวนมากจริงและมากกว่าปริมาณที่แนะนำที่กำหนดไว้ที่ประมาณ 16 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ถึง 70 เท่า คิดเป็น 200 กิโลกรัม/ไร่/เดือน หรือ 1,120 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี” 

        “ทั้งนี้ จากการศึกษาผลวิจัยในประเทศซิลี การโหมประโคมใส่ปุ๋ยในปริมาณมากไม่ได้ทำให้ผลผลิตดีหรือเพิ่มมากขึ้นอย่างที่เกษตรกรเข้าใจแต่กลับพบว่าการใส่ปุ๋ยในปริมาณน้อยแค่ 8 กิโลกรัมต่อไร่สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้ และยังไม่สร้างปัญหามลพิษทางน้ำอีกด้วย”


                        ผลกระทบที่น่ากลัวมากกว่าตัวเลขการพบการปนเปื้อนไนเตรท ณัฐวิภาอธิบายว่า ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชีวิตก็คือในด้านสิ่งแวดล้อมจะเกิดปรากฏการณ์ EUTROPHICATION ที่เป็นหนึ่งในปัญหามลพิษที่สำคัญ โดยระบบนิเวศทางน้ำมีปริมาณสารอาหารในไตรเจนมากเกินความจำเป็นจะเป็นสาเหตุให้สัตว์ที่อยู่ในน้ำตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอต่อการหายใจของปลาและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และยังเป็นการเพิ่มปริมาณสาหร่ายพิษในหนองน้ำอีกด้วย 

                         ด้านสุขภาพ มีผลการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศยืนยันชัดเจนว่า เด็กทารกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ประกอบเกษตรกรรมในเชิงอุตสาหกรรม ที่มีการปนเปื้อนไนเตรทในแหล่งน้ำชุมชนสูง จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพสูงสุด โดยพิษของไนเตรทจะทำให้เด็กเกิดโรค “Blue-baby syndrome” หรือ methemoglobinemia และมักเกิดในเด็กทารกอายุต่ำกว่า 4 เดือนที่ดื่มน้ำมีไนเตรทเจือปนในปริมาณสูง ซึ่งอาการของบลู เบบี้ ซินโดรมซ์ จะเป็นในลักษณะที่แบคทีเรียในสำไส้เปลี่ยนรูปของไนเตรทให้เป็นไนไตรท์ และไนไตรท์นี้จะไปดูดซับและรวมตัวกับฮีโมโกลบิน เป็นเมทีโมโกลบิน ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปใช้ในร่างกายลดลง เท่ากับว่าเป็นการไปขัดขวางการทำงานของฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ เนื้อตัวเขียว และอาจเสียชีวิตได้ 

        “ในประเทศไทยทางกลุ่มกรีนพีซเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเร่งศึกษาถึงกรณีที่เด็กทารกไทยอาจเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งถ้าผลการศึกษาออกมาเป็นเช่นไรจะแจ้งให้สังคมทราบอีกครั้งหนึ่ง” ณัฐวิภากล่าว
                       นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ใหญ่หากดื่มน้ำที่มีไนเตรทปนเปื้อนเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด NHL มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งรังไข่ ฯลฯ และเมื่อรับประทานอาหารที่ไนเตรทสะสมอยู่ในปริมาณสูง เช่น สัตว์น้ำ หรือผักที่ปลูกพิษที่ตกค้างจะทำให้เกิดภาวะทางประสาท สูญเสียความทรงจำ เป็นอัมพาตหรือท้องร่วงได้ 

                       ทั้งนี้ ณัฐวิภายังฝากข้อคิดถึงเกษตรกรไทยด้วยว่า การใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เกินความจำเป็น นำมาสู่การปนเปื้อนไนตรทต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ปุ๋ยที่เกษตรกรโหมใส่ในปริมาณมากมายมหาศาล พบว่าพืชไม่ได้นำไปใช้ได้ทั้งหมด กว่าครึ่งของปุ๋ยที่ใส่ลงไปจะสูญเสียโดยการชะล้างจากกระแสน้ำ หรือเปลี่ยนรูปเป็นก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก อันเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น จึงอยากให้เกษตรกรละทิ้งความเชื่อผิด ๆ ที่คิดว่าใส่ปุ๋ยมาก ๆ แล้วจะทำให้พืชผักมีผลผลิตที่สูงขึ้น แต่ควรจะศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติของพืชแต่ละชนิดว่าควรใส่ปุ๋ยอย่างไรจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดมากกว่า เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มนายทุนก็ไม่ได้เข้ารับผิดชอบโดยตรงต่อมลพิษที่เกิดขึ้นดังกล่าวจึงคิดว่าน่าจะตัดปัญหาที่ต้นตอ


                          และข้อคิดสุดท้ายที่ฝากถึงรัฐบาลไทยก็คือ รัฐควรให้ข้อมูลข่าวสารด้านการใช้สารเคมีเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงแก่เกษตรกรไทยเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อตัวแทนขายสารเคมีเกษตร และบริษัทที่ผลิตสารเคมีเกษตร ที่เร่งขายผลิตภัณฑ์ของตัวเองและแนะนำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยในปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่สนใจเรื่องปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม

----------------------------------------------------

view

หน้าแรก

บทความ

เว็บบอร์ด

รวมรูปภาพ

view