การเพาะเลี้ยงกบนา
Cultured of Common Lowland Frog
นายสมบัติ อาจารีย์1
นางจิราวรรณ แสงจันทร์2
บทคัดย่อ
การเพาะเลี้ยงกบนาจะใช้พ่อแม่พันธุ์ขนาด 8 เดือนขึ้นไป หรือประมาณ 250 กรัม โดยแม่พันธุ์กบนาน้ำหนัก 180 – 280 กรัมจะให้ไข่ 1,000 – 8,000 ฟอง ในปีหนึ้ง ๆ ถ้าแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์จะสามารถวางไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 3 – 4 ครั้ง โดยกบนาจะผสมพันธุ์และวางไข่ช่วง 04.00 – 06.00 น. หลังจากที่กบผสมพันธุ์วางไข่เรียบร้อยแล้ว ย้ายพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อเพาะและใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อฟักไข่ โดยเติมน้ำสะอาดลงในบ่อให้ลึกประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร ไข่กบนาจะฟักออกเป็นตัวภายใน 18 – 36 ชม. อุณหภูมิที่เหมาะสมในการฟักคือ 27 องศาเซนเซียส เมื่อไข่กบฟักเป็นตัวอ่อนในระยะ 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร หลังจากนั้นให้ไข่แดง ไข่ตุ๋น ไรแดง หรืออาหารสำเร็จรูป ซึ่งลูกอ๊อดจะกินอาหารตลอดเวลา ดังนั้นการให้อาหารควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เมื่ออนุบาลลูกอ๊อดได้ 2 สัปดาห์ ควรมีการย้ายบ่อและคัดขนาดลูกอ๊อด เพื่อช่วยให้อัตรารอดของลูกอ๊อดสูง เมื่อเลี้ยงลูกอ๊อดได้ 1 เดือน ขาทั้ง 4 ก็จะงอกออกสมบูรณ์และหางจะหดหมด ซึ่งลูกกบนาจะเริ่มกินอาหารบนบก อาหารที่ใช้ควรมีโปรตีน 32.72 % ไขมัน 25.13% และคาร์โบไฮเดตร 21% หลังจากเลี้ยงลูกกบนาได้ขนาด 1 นิ้ว ก็สามารถนำกบไปเลี้ยงขุนได้ในอัตรา 50 – 10 ตัว/ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำว่าดีหรือไม่ อาหารที่ใช้เลี้ยงกบรุ่นควรมีอัตราโปรตีน 30 – 35 % ขึ้นไป เพราะกบต้องใช้พลังงานมากในการเคลื่อนไหว ในระหว่างการเลี้ยงต้องเอาใจใส่เกี่ยวกับความสะอาดของบ่อ เพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดกับกบนาที่เลี้ยง โรคที่พบมากจะเกิดจากเชื้อแบคที่เรีย โปรโตซัว และโรคท้องบวม หลังจากเลี้ยงกบนาได้ 4 เดือนขึ้นไปก็สามารถทยอยจับกบจำหน่ายได้
คำสำคัญ : กบนา , พ่อแม่พันธุ์
1/ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี (ภาคพิเศษ) สาขาการประมง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
2/ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ สาขาวิชาประมง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
ทำหน้าที่ อาจารย์ที่ปรึกษา
บทนำ
กบ เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่มีคุณประโยชน์หลายประการ ประการแรกใช้เป็นอาหาร เพราะเนื้อกบเป็นอาหารโปรตีนที่มีรสโอชะ อยู่ในความนิยมของผู้บริโภคทั่วไป ประการที่สอง ใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางชีววิทยาและในทางการแพทย์ และประการที่สาม กบมีความ สำคัญต่อสภาวะแวดล้อมในการควบคุมและกำจัดแมลง
กบที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน พันธุ์ที่รู้จักกันโดยทั่วไปและมีความสำคัญ ได้แก่ กบนา กบจาน กบทูต และกบภูเขาหรือเขียดแลว แต่พันธุ์ที่นิยมนำมาทำการเพาะเลี้ยงคือกบนา เพราะเป็นที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป และการเพาะเลี้ยงทำได้ผลดีและสะดวกกว่า
การจัดลำดับทางอนุกรมวิธานของกบนา
Kingdom Animal
Phylum Chordata
Subphylum Vertebrata
Class Amphibia
Subclass Lissamphibia
Order Anuru
Family Ranidae
Subfamily Raninae
Genus Rana
Species rugulosa
ข้อดีข้อเสียในการเลี้ยงกบแต่ละพันธุ์
กบนา
ข้อดี คือ กินได้ทั้งตัว หนังนำไปฟอกได้ คนไทยเรานิยมบริโภค ตลาดในประเทศแพร่หลายมีน้ำหนักขามากกว่ากบวัว เป็นที่ต้องการของตลาด (วิทย์ ,2530)
ข้อเสีย คือ ถ้ารวบรวมลูกกบจากธรรมชาติมาเลี้ยงจะไม่เชื่องและตกใจง่าย เมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อจะโดดชนกำแพงทำให้ผิวหนังถลอกหรือเป็นแผล ต่อมาเกิดการติดเชื้อและเป็นโรคตายในที่สุด อัตราการรอดตายค่อนข้างต่ำ (ธนาภรณ์,2530)จึงควรส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแบบครบวงจร คือทำการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงเอง
การเลือกสถานที่สร้างบ่อเพาะเลี้ยงกบ
สถานที่ที่จะสร้างบ่อเลี้ยงกบ ควรมีลักษณะดังนี้ (กรมประมง, 2536)
1.ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกัน
2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอ เพื่อสะดวกในการก่อสร้าง
4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มที่และโตเร็ว
การเพาะขยายพันธุ์กบนา
การที่จะเพาะพันธุ์กบให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ขึ้นเอง เพราะถ้าจับพ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติกบจะตื่นตกใจง่ายไม่คุ้นเคยกับสภาพที่กักขัง ไม่ยอมกินอาหารมีผลทำให้กบตายในที่สุด (รังสรรค์, 2536) การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์กบจากธรรมชาติ เพื่อนำมาเพาะเป็นสิ่งที่ยุ่งยากในการปฏิบัติ ไม่มีความแน่นอนและไม่เหมาะสมในกรณีที่ต้องการผลิตลูกกบในปริมาณมาก (ธนัญช์ , 2530) การซื้อพ่อแม่พันธุ์จากผู้เพาะเลี้ยงอื่น ๆ มักถูกโกงราคาที่สูงมาก ทำให้เกิดปัญหาเสี่ยงต่อการลงทุน ดังนั้น ควรจะได้มีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อใช้เพาะพันธุ์ไปด้วย
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบให้มีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องเลี้ยงให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์จนกระทั่งเพศเมียมีไข่แก่ เพศผู้มีน้ำเชื้อดี ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ (ยุพินท์, 2524)
ปัจจัยสำคัญในการเลือกสถานที่เลี้ยงพ่อแม่กบ
ประเภทบ่อ บ่อที่ใช้เป็นบ่อดินหรือบ่อคอนกรีตก็ได้ มักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม ผนังกั้นสูง 0.75 – 1.00 เมตร มีชานบ่อกว้าง 25 – 30 เซนติเมตร โดยรอบ หรือจะให้ชานบ่ออยู่ด้านใดด้านหนึ่งของบ่อก็ได้ หรือจะสร้างเป็นเนินตรงกลางบ่อให้มีเนื้อที่ประมาณ 1/3 ของเนื้อที่บ่อทั้งหมด ชานดังกล่าวมีเชิงลาดค่อย ๆ เทลงรับกับก้นบ่อ เพื่อสะดวกในการถ่ายเทน้ำ มีทางระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในบ่อให้คงที่ตลอดเวลา
ขนาดบ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อขนาดเล็ก มีเนื้อที่ตั้งแต่ 4
ความหนาแน่น อัตราการปล่อยกบที่เลี้ยงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์มีความสำคัญมากต่อการสร้างไข่ และน้ำเชื้อ อัตราการปล่อยที่เหมาะสมควรมีอัตรา 20 ตัวต่อตารางเมตร
การแยกเพศเลี้ยง ควรแยกเพสเลี้ยงเพื่อให้กบได้มีโอกาสสร้างไข่และน้ำเชื้อได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ซึ่งเมื่อถึงฤดูการเพาะพันธุ์จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
อาหาร อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างไข่ และน้ำเชื้อ อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพและลดปริมาณลงเมื่อกบใกล้ฤดูผสมพันธุ์ อาจจะให้ 2 วันต่อครั้ง เพื่อไม่ให้กบมีไขมันมากเกินไป ทำให้ไข่ไม่แก่จัด และมีปริมาณน้อยนำมาเพาะพันธุ์ไม่ได้ผล
การถ่ายเทน้ำ น้ำใหม่และน้ำสะอาด เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้กบมีไข่แก่และน้ำเชื้อดี แข็งแรง และไม่เกิดโรคได้ง่าย
ความเงียบสงบ กบเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย การรบกวนทำให้กระโดด มีผลต่อการสร้างไข่และน้ำเชื้อ บ่อที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรกั้นให้สูงและอยู่ห่างจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ
แสงแดดและอุณหภูมิ มีผลต่อการสืบพันธุ์ บ่อเลี้ยงควรมีหลังคาเพื่อให้กบมีที่หลบแดดและบังแสงด้วย (อาจ, 2529)
การคัดพ่อแม่พันธุ์
กบที่สามารถนำมาเพาะเลี้ยงได้นั้น เพศเมียควรมีอายุไม่ต่อกว่า 1 ปี น้ำหนัก 250 กรัมขึ้นไป (โดยปกติแล้วแม่กบอายุ 8 – 10 เดือน ก็สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว) เพศผู้ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เพื่อจะให้ไข่ดกและน้ำเชื้อที่สมบูรณ์ ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์นั้น ควรคัดตัวที่สุขภาพสมบูรณ์ มีร่างกายสมส่วน ไม่มีโรคและพยาธิ และได้มาจากสายพันธุ์ที่ดี (อาจ, 2529)
โดยทั่วไปกบเพศผู้มักจะเล็กกว่ากบเพศเมีย (Mondal,1984) เพศผู้มีกล่องเสียงอยู่ใต้คางทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเป็นวงสีคล้ำ ใช้ส่งเสียงร้องเพื่อเรียกตัวเมีย ส่วนของกล่องเสียงนั้นจะพองโปน การเจริญเติบโตช้ากว่าเพศเมีย และมีขนาดเล็กกว่า เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีสีเหลืองบริเวณใต้คางและขาทั้ง 2 ข้าง ลักษณะเช่นนี้จะไม่พบกับกบเพศเมีย กบเพศผู้ที่พร้อมจะผสมพันธุ์สังเกตได้จากบริเวณนิ้วของกบจะมีปุ่มหยาบที่ช่วยในการยึดเกาะเด่นชัด และเมื่อใช้นิ้วสอดเข้าใต้คู่ขาหน้า กบจะแสดงการกอดรัดซึ่งแสดงถึงความพร้อมที่จะผสมพันธุ์
การเลือกแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่ สังเกตได้จากส่วนท้องที่ขยายใหญ่ ผิวหนังบางใส เส้นเลือดบริเวณใต้ท้องโป่งออก บริเวณข้างลำตัวจะมีปุ่มสาก ซึ่งถ้าสากมากยิ่งแสดงถึงความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ (อาจ, 2529)
การเพาะพันธุ์กบนา
ตามธรรมชาติกบจะผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงฤดูฝน กบเพศผู้จะส่งเสียงร้องเพื่อให้ตัวเมียที่มีไข่แก่เดินทางเข้ามาหาเพื่อทำการผสมพันธุ์วางไข่ กบจะเลือกวางไข่บริเวณที่มีพวกสาหร่าย และพันธุ์ไม้น้ำ ตำแหน่งที่กบวางไข่ส่วนมากจะอยู่บริเวณชายบ่อหรือแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่มีระดับน้ำ 1 - 8 นิ้ว หรือที่โล่งแจ้งมีระดับน้ำ 0.5 –
เมื่อทั้ง 2 เพศพบกันและพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ กบตัวผู้จะไล่เวียนกบตัวเมียแล้วจึงขึ้นทับกบตัวเมีย ใช้ขาหน้าโอบรัดตัวเมียเพื่อบีบ ให้ไข่เคลื่อนที่ไปสู่ช่องท้องแล้วกบตัวผู้จะรัดแน่น เพื่อบีบไข่ให้ไหลไปสู่ท่อนำไข่ แล้วตัวเมียจึงปล่อยไข่ออกมาพร้อมกับส่วนเหนียว (Albuminous invertment) แล้วส่วนนี้พองตัวคล้ายเป็นวุ้น (Gelatinous mass) ล้อมรอบไข่ ขณะเดียวกันตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมทันที อสุจิ(Sperm) จะว่ายน้ำเจาะวุ้นที่ล้อมรอบไข่เข้าไปผสม การปล่อยไข่และน้ำเชื้อออกมาผสมนั้น จะกระทำเป็นระยะ ๆ หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าจะสิ้นสุด กบเพศผู้ตัวหนึ่งอาจจะผสมกับเพศเมียในคราวเดียวกันได้ถึง 2 ตัว โดยผละจากเพศเมียตัวหนึ่งระหว่างช่วงพัก แล้วไปผสมกับเพศเมียอีกตัวหนึ่งได้ ซึ่งกบเพศเมียทั้งสองตัวนี้ จะต้องอยู่ในระยะห่างกันไม่เกิน
นอกจากนี้การวางไข่ของกบเพศเมียอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีกบเพศผู้ก็ได้ หากสภาวะแวดล้อมเหมาะสมและกบเพศเมียมีไข่แก่เต็มที่ เช่น เมื่อทำความสะอาดบ่อพ่อแม่พันธุ์และถ่ายเทน้ำใหม่ อาจพบกบเพศเมียทำการวางไข่ โดยที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จากกบเพศผู้ ไข่ที่ออกมานี้จะไม่ฟักเป็นตัว
ปริมาณของไข่กบแต่ละแม่ขึ้นอยู่กับอายุ และขนาดของแม่พันธุ์ และฤดูกาลด้วย ในช่วงต้นฤดู ( ก.พ. – มี.ค. ) และปลายฤดู (ก.ย. – ต.ค.) ปริมาณไข่จะน้อยกว่า เดือนเมษายน ถึงสิงหาคม (รังสรรค์ ทรวงชมพันธุ์, 2536) ในการทดลองที่สถานีประมงน้ำจืดเพชรบุรี แม่พันธุ์กบนาน้ำหนัก 180 –
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
บ่อผสมพันธุ์อาจเป็นบ่อซีเมนต์หรือถังส้วม หรือกระชังมุ้งไนล่อนก็ได้ บ่อควรอยู่ในที่โล่งแจ้งและปราศจากสิ่งรบกวน ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคก่อน ภายในบ่อใส่พันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวาเล็ก ๆ สาหร่ายที่ล้างสะอาด เติมน้ำสะอาดให้สูงประมาณ 5 – 7 ซม. ถ้ามีน้ำอุดมสมบูรณ์ อาจใช้วิธีการพ่นน้ำลงในบ่อเหมือนฝนเทียมจะช่วยกระตุ้นให้กบวางไข่ได้ดีขึ้น
การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ
การปล่อยกบเพื่อเพาะพันธุ์ควรปล่อยเวลาพลบค่ำเพื่อมิให้กบกระโดด อัตราการปล่อยประมาณ 4 – 6 ตารางเมตรต่อ 1 คู่ กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ช่วง 04.00 – 06.00 น. ถ้าอาการเย็นมีฝนตกพรำ ๆ อาจจะเลยไปถึง 08.00 น. ก็ได้ บ่อผสมพันธุ์นี้เมื่อปล่อยพ่อแม่กบลงไปแล้ว ไม่ควรไปรบกวนหรือทำให้กบตกใจซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กบไม่ผสมพันธุ์วางไข่ได้
การเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้น
ในกรณีที่เพาะพันธุกบแบบธรรมชาติแล้วไม่ได้ผลเต็มที่ หรือต้องการให้กบวางไข่ก่อนฤดูกาล หรือต้องการผสมข้ามพันธุ์สามารถที่จะใช้วิธีฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้แม่กบวางไข่ ฮอร์โมนที่ใช้อาจใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองของกบหรือใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีชื่อทางการค้าว่า “ซูพรีแฟคท์” (Suprefact) ฉีดเข้าบริเวณช่องท้อง ฉีดให้กบเพศเมียอัตรา 15 – 25 ไมโครกรัม ต่อน้ำหนักกบ
จากากรทดลองที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเพชรบุรี พบว่า การฉีดฮอร์โมนกระตุ้นกบเพศเมียในเข็มที่ 1 โดยฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ Suprefact 5 ไมโครกรัม + Domperridone 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักกบ
การผสมเทียมกบ มีขั้นตอนละเอียดและค่อนข้างยุ่งยาก โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้
สำหรับปริมาณของฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้คือ 2.5 – 20 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
ทั้งนี้โดยฉีดพร้อมกับMotilium 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวกบ 1 กก. สารทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวข้างต้นจะละลายใน 0.75%NaCL เพื่อฉีดเข้าช่องท้อง หรือละลายใน 0.1% Acetic acid เพื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณ Dorsal lymph sac
การฟักไข่
หลังจากที่กบผสมพันธุ์วางไข่เรียบร้อยแล้ว ย้ายพ่อแม่ออกจากบ่อเพาะและใช้บ่อเพาะพันธุ์นี้เป็นบ่อฟักไข่ เติมน้ำสะอาดลงไปในบ่อให้ลึกประมาณ 10 –
การอนุบาลลูกอ๊อด
บ่ออนุบาลลูกอ๊อดควรเป็นบ่อคอนกรีต ทั้งนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเสีย และช่วยป้องกันศัตรูได้มาก ขนาดของบ่ออาจจะมีเนื้อที่ตั้งแต่
อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกอ๊อด
เมื่อไข่กบฟักเป็นตัวอ่อนแล้วช่วงระยะ 2 วันแรก ไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไข่แดง ไข่ตุ๋น ไรแดง อาหารผงสำเร็จรูปใส่น้ำปั้นเป็นก้อน ปลาย่าง ตลอดจนใบผักกาด ผักบุ้ง นำมานึ่งให้อ่อนตัว ลูกอ๊อดกินอาหารตลอดเวลา การให้อาหารควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เพราะถ้าให้อาหารมากเกินไปอาหารจะเน่าเสียและทำให้น้ำเน่าเสียด้วย มีผลทำให้ลูกอ๊อดเกิดโรคได้ง่าย การให้อาหารน้อยเกินไปลูกอ๊อดจะมีขนาดต่างกันมากเกิดปัญหาการกินกันเอง ทำให้อัตราการรอดต่ำ
การถ่ายเทน้ำ
ในระยะแรกใช้วิธีเพิ่มน้ำวันละ 5
การย้ายบ่อ
เมื่ออนุบาลลูกอ๊อดได้ 2 สัปดาห์ ควรมีการย้ายบ่อเพื่อทำความสะอาดและคัดขนาดลูกอ๊อด ซึ่งจะช่วยให้อัตราการรอดของลูกอ๊อดสูงขึ้น เมื่อเลี้ยงลูกอ๊อดประมาณ 3 สัปดาห์ ขาหลังจะเริ่มงอกทั้ง 2 ขา เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่ก็จะมีขาหน้าโพล่ออกมาทั้ง 2 ข้าง ทางช่องเหงือก หางเริ่มหด ระยะนี้ลูกกบมักตายมาก สาเหตุจาก
. 1. กบจมน้ำตาย เนื่องจากการเปลี่ยนพฤติการณ์การหายใจจากการหายใจด้วยเหงือกเป็นการหายใจด้วยปอด วิธีแก้ไขคือ ต้องใส่วัสดุลอยน้ำเพื่อให้กบยึดเกาะมาก ๆ เช่น พันธุ์ไม้น้ำ แผ่นไม้ แผ่นโฟม เป็นต้น และควรลดปริมาณน้ำในบ่อลง
. 2. ลูกกบที่ขึ้นน้ำใหม่ ๆ หางยังไม่หด จะถูกลูกอ๊อดที่ยังไม่พัฒนาเป็นตัวกบกัดหาง ทำให้เกิดบาดแผล ในระยะนี้ควรใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารให้กบกินด้วย และควรแยกกบที่หางเริ่มหดแล้วไปอนุบาลอีกบ่อหนึ่ง
. 3. กบกัดกินกันเอง กบที่มีขนาดใหญ่กว่ามักจะกัดกินกบตัวที่เล็กกว่า ต้องหมั่นคัดขนาด ประมาณ 2 – 3 วันต่อครั้ง
กบที่อายุประมาณ 1 เดือน ขางอกครบทั้ง 4 ขา และหางหดหมดแล้ว จะกินอาหารบนบกเหนือน้ำ อาหารที่ใช้เป็นปลาสดสับละเอียด วางบนไม้กระดานลอยน้ำหรือภาชนะปริ่มน้ำ หรืออาหารเม็ดขนาดเล็กใช้เลี้ยงลูกกบ ระยะเวลาของการเจริญจากไข่ที่ผสมจนเป็นลูกกบโดยสมบูรณ์ (ขางอกครบทั้ง 4 ขา หางหดหมด) ใช้เวลาประมาณ 28 – 36 วัน อาหารที่ใช้อนุบาลลูกอ๊อดพบว่า สามารถใช้อาหารผสมเลี้ยงลูกอ๊อดได้ โดยไม่แตกต่างจากการใช้อาหารมีชีวิต และการให้อาหารเม็ดมีความสะดวกกว่า
ชนิดของอาหารและการเพิ่มอากาศในน้ำ
มีผลต่อการเจริญเติบโต และการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง จากลูกอ๊อดเป็นลูกกบนาโดยสมบูรณ์ โดยอาหารผสมที่อุดมไปด้วยโปรตีน 32.72% ไขมัน 25.13% และคาร์โบไฮเดรต 21 % จะทำให้
ลูกอ๊อดมีการเจริญเติบโตเร็ว ใช้เวลาประมาณ 29 วัน ส่วนอาหารที่ทำจากพืช (โปรตีน 19.09% ไขมัน 14.39% คาร์โบไฮเดรต 39%) ทำให้ลูกอ๊อดมีการเจริญเติบโตช้ากว่าและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างช้า ใช้เวลาประมาณ 37 วัน และยังทำให้มีรูปร่างไม่สมประกอบด้วย ส่วนการเพิ่มอากาศในน้ำนั้น จะมีผลทำให้ลูกอ๊อดมีการเจริญเติบโตเร็ว และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเร็ว ใช้เวลาประมาณ 21 – 22 วัน ถ้าไม่เพิ่มอากาศในน้ำจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างช้าใช้เวลาประมาณ 31 วัน
การเลี้ยงลูกกบ
บ่อเลี้ยงลูกกบควรเป็นบ่อคอนกรีตมีขนาดตั้งแต่ 4.5 –
เมื่อลูกอ๊อดเจริญเติบโตเป็นกบเต็มวัยขนาด 0.75 – 1 นิ้ว จะขึ้นจากน้ำไปอาศัยอยู่บนบกหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ลอยน้ำ เมื่อคัดขนาดนำไปเลี้ยงในบ่อแล้วต้องเตรียมอาหารให้ ถ้าเป็นลูกอ๊อดที่เคยให้อาหารเม็ดกินแต่แรก ก็สามารถให้อาหารเม็ดกินต่อได้ ถ้าเป็นลูกกบที่ไม่เคยได้รับการฝึกมาก่อนก็ต้องมีการฝึกการกินอาหารในขั้นต่อไป เพราะโดยธรรมชาติลูกกบจะกินอาหารที่มีชีวิต เช่น แมลง ไส้เดือน ปลวก หนอน ลูกปลา ลูกุ้ง ฯลฯ แต่การเลี้ยงกบนั้นไม่สามารถที่จะหาอาหารที่มีชีวิตให้ได้ตลอด จึงต้องมีการฝึกให้กินปลาสับ ทำได้โดยการเพาะหนอนแล้วนำไปใส่ในกองปลาสับที่อยู่ในถาดให้อาหาร หนอนจะซอนไซอยุ่ในกองปลาสับกบจะเข้ามากินหนอน แต่ติดปลาสับเข้าไปด้วย ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณปลาสับ และลดจำนวนหนอนลงเรื่อย ๆ จนวันที่ 5 บนถาดอาหารจะมีแต่เฉพาะปลาสับเพียงอย่างเดียว ลูกกบก็สามารถกินปลาสับได้ ส่วนการฝึกให้กินอาหารเม็ดก็สามารถทำโดยวิธีที่คล้ายกัน เพียงแต่เปลี่ยนปลาสับเป็นอาหารเม็ด การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น การถ่ายเทน้ำควรถ่ายเททุกวันหรือ 2 วันต่อครั้ง
การเจริญเติบโต
ลูกกบที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ขนาด 1.5 – 2 นิ้ว มีน้ำหนัก 6 – 10 กรัม กบขนาดดังกล่าวสามารถแยกนำไปปล่อยในบ่อเลี้ยงได้และลดจำนวนปล่อยให้น้อยลง
ลักษณะและรูปแบบการเลี้ยงกบนา
ทำได้ 2 แบบ คือ การเลี้ยงแบบครบวงจร และแบบไม่ครบวงจร โดยมีรูปแบบการเลี้ยงคือ เลี้ยงในบ่อดิน เลี้ยงในคอก เลี้ยงในกระชัง เลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ และเลี้ยงในแปลงนา เป็นต้น
อัตราการปล่อย
ควรปล่อยกบในอัตรา 50 ตัวต่อ
อาหารและการให้อาหาร
อาหารที่ใช้อาจใช้อาหารผสม โดยวิธีเดียวกันกับการทำลูกชิ้นหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ ให้กบกินก็ได้ อาหารที่เตรียมขึ้นเป็นพิเศษใช้เลี้ยงกบควรใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติสม่ำเสมอกันตั้งแต่ต้น หากเปลี่ยนเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กลิ่น ความอ่อนแข็ง หรือความยืดหยุ่นต่าง ๆ กัน กบจะไม่ค่อยกินอาหาร การเปลี่ยนชนิดของอาหารจะมีผลทำให้กบชะงักการกินอาหารได้เป็นเวลาหลาย ๆ วัน มีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต
อาหารของกบรุ่นหรือกบโต ใช้ปลาสดสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 –
การถ่ายเทน้ำ
การถ่ายเทน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการเลี้ยงกบให้เจริญเติบโตถึงขนาดบริโภคได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น ควรได้มีการถ่ายเทน้ำทุกครั้งที่กบกินอาหารแต่ละมื้ออิ่มแล้ว หรือถ้ามีน้ำอุดมสมบูรณ์ควรจะให้น้ำไหลผ่านตลอดเวลาก็จะช่วยให้กบกินอาหารดี เจริญเติบโตเร็วขึ้น และยังสามารถเพิ่มปริมาณการปล่อยกบได้อีกด้วย
การดูแลรักษา
เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยง ถ้าขาดการดูแลรักษาที่ดี กบที่เลี้ยงจะไม่โต เป็นโรค สูญหายหรือตายได้
การจับกบจำหน่าย
เนื่องจากสภาพบ่อเลี้ยงมีความแตกต่างกัน ทำให้ความสะดวกในการดูแลรักษาย่อมแตกต่างกันดังกล่าวแล้ว ยังรวมไปถึงการจับกบจำหน่ายก็แตกต่างกันอีกด้วย กล่าวคือ
1. การเลี้ยงกบในบ่อดิน ลักษณะการเลี้ยงกบแบบนี้ จะจับกบจำหน่ายได้ครั้งเดียวในเวลาที่พร้อมกัน ไม่มีการจับกบจำหน่ายปลีก หรือเป็นครั้งคราว ทั้งนี้เพราะสภาพบ่อเลี้ยงไม่เอื้ออำนวย ถึงแม้จะเป็นการจับเพียงครั้งเดียวให้หมดบ่อ จะต้องใช้ผู้จับหลายคนลงไปในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพโคลนตมและต้องเก็บพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ขึ้นให้หมดก่อน จึงต้องใช้เวลาและแรงงานมากที่จะเที่ยวไล่จับกบในที่หลบซ่อนให้หมดในครั้งเดียว
2. การเลี้ยงกบในคอก สามารถจับกบได้ทุกโอกาสไม่ว่าจะจับหมดทั้งคอกหรือมีการจำหน่ายปลีก โดยมีกระบะไม้ และทำเป็นช่องเข้าออก ี เจริญเติบโตเร็วขึ้น และยังในด้านตรงกันข้ามวางอยู่หลายอันบนพื้นดินภายในคอก ซึ่งกบจะเข้าไปอาศัยอยู่ เมื่อถึงเวลาจะจับกบก็ใช้กระสอบเปิดปากไว้รออยู่ที่ช่องด้านหนึ่งแล้วใช้มือล้วงเข้าไปในช่องด้านตรงข้าม กบจะหนีออกทางอีกช่องหนึ่งที่มีปากกระสอบรอรับอยู่และเข้าไปในกระสอบกันหมดเป็นการกระทำที่สะดวกกบไม่ตกใจและชอกช้ำ
3. การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ สามารถจับกบได้ทุกโอกาสไม่ว่าจะจับหมดทั้งบ่อหรือจับจำหน่ายปลีก โดยใช้คนเพียงคนเดียวพร้อมทั้งสวิงเมื่อลงในบ่อซึ่งมีน้ำเพียง
อนึ่ง การเลี้ยงกบควรคำนึงถึงระยะเวลาเลี้ยง ควบคู่ไปกับระยะเวลาที่จะจับกบจำหน่าย เนื่องจากในฤดูฝนกบจะมีราคาถูกถ้าผู้เลี้ยงจะต้องจับกบจำหน่ายในช่วงนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนน้อยแต่ถ้ากะเวลาเลี้ยงและเวลาจับจำหน่ายให้ถูกต้อง คือเมื่อรู้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงกบนาน 4 เดือน จึงต้องกะระยะเวลาเดือนที่ 4 ให้ตรงกับอยู่ในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อน เพราะในช่วงนี้กบราคาแพง ผู้เลี้ยงสามารถขายได้ในราคาที่ดีคุ้มกับการลงทุน อีกทั้งผู้ที่ต้องการจำหน่ายปลีก ควรจะติดต่อตกลงราคาและจำนวนกับผู้ซื้อไม่ว่าจะเป็นตลาดสดหรือร้านอาหารให้เป็นที่แน่นอนก่อนจึงจะจับกบไปส่งจำหน่ายได้ต่อไป
ในการลำเลียงกบไม่ว่าจะเป็นกบเล็กกบใหญ่ ในภาชนะลำเลียงกบควรมีน้ำเพียงเล็กน้อย และจะต้องมีวัสดุ เช่น หญ้า ฟาง ผักบุ้ง ผักตบชวา เพื่อให้กบเข้าไปซุกอาศัยอยู่ มิฉะนั้นในระหว่างเดินทางกบจะกระโดดเต้นไปมาเกิดอาการจุกเสียดแน่นและเป็นแผล
โรคกบ
ปัญหาโรคกบที่เกิดขึ้นนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากความผิดพลาดทางด้านการเลี้ยงและการจัดการ ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการเลี้ยงกบในปัจจุบันมักจะใช้บ่อซีเมนต์ และเลี้ยงกันอย่างหนาแน่น มีการให้อาหารมาก ประกอบกับการขาดความเอาใจใส่ และไม่เข้าใจเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น เท่าที่ได้รวบรวมข้อมูลทางด้านโรคต่าง ๆ ที่ตรวจพบจากกบนั้นพอจะแบ่งออกได้ดังนี้
1. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงกบมากที่สุด ทั้งในช่วงที่เป็นลูกอ๊อด และกบเต็มวัย ซึ่งในที่นี้จะแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด พบได้ตั้งแต่ระยะที่ไข่ฟักเป็นตัวจนกระทั่งพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย อาการที่สังเกตได้คือ ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คล้ายโรคตัวด่างในปลาดุก จากนั้นจะเริ่มพบอาหารท้องบวมและตกเลือดตามครีบหรือระยางค์ต่าง ๆ
สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากการปล่อยลูกอ๊อดในอัตราหนาแน่นเกินไปมีการให้อาหารมากทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม โดยเฉพาะค่าพีเอชของน้ำจะต่ำลงมาก นอกจากนี้ลูกอ๊อดยังกัดกันเองทำให้เกิดเป็นแผลตามลำตัว เปิดโอกาสให้เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรียในกลุ่ม Flexibacteris เข้าทำอันตรายได้ง่ายขึ้น อาการของโรคทวีความรุนแรงถ้าคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงเสียมากขึ้น และ เลี้ยงลูกอ๊อดหนาแน่นเกินไป ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ อนุบาลลูกอ๊อดในความหนาแน่นที่เหมาะสมตารางเมตรละ 1,000 ตัว และทำการคัดขนาดทุก ๆ 2-3 วันต่อครั้ง จนกระทั่งเป็นลูกกบแล้วอนุบาลให้ได้ขนาด 1-
1.2 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะเต็มวัย พบทั้งในกบขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ องค์ประกอบที่จะทำให้อาการ ที่จะทำให้อาการของโรค รุนแรงมากหรือน้อย คือ สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียAeromonas และ Pseudomonas และระยะเวลาของการเป็นโรคอาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ การเกิดแผลที่มีลักษณะเป็นจุดแดงๆตามขาและผิวตัวโดยเฉพาะด้านท้องจนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก
เมื่อเปิดช่องท้องเพื่อดูอวัยวะภายในจะพบว่ามีของเหลวในช่องท้อง ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจุดสีเหลืองซีด ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่บางครั้งพบตุ่มสีขาวขุ่นกระจายอยู่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค คือ สภาพบ่อสกปรกมาก ดังนั้นจึงควรจัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย ๆ ควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะ และอย่าปล่อยกบลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป เมื่อกบเป็นโรค ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซีเตตร้าซัยคลินผสมอาหารให้กบกินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมต่อวัน กินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้นหรือให้กินไม่น้อยกว่าครั้งละ5-7วัน
2. โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร โดยทั่วไปจะพบในกบเล็กมากกว่ากบโต อาการทั่วไปจะพบว่ากบไม่ค่อยกินอาหาร ผอม ตัวซีด เมื่อตรวจดูในลำไส้จะพบโปรโตซัวในกลุ่ม Opalina sp. และ Balantidium sp. อยู่เป็นจำนวนมาก การติดเชื้อโปรโตซัวในทางเดินอาหารนี้ถ้าเป็นติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้กบตายได้ การรักษาควรจะใช้ยา Metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร
3. โรคท้องบวม โดยทั่วไปจะเกิดกับลูกอ๊อดในฟาร์มที่ใช้น้ำบาดาล การเปลี่ยนน้ำอย่างรวดเร็วโดยใช้น้ำบาดาลที่ไม่ได้พักไว้ก่อน จะทำให้ความดันก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำลดต่ำลงอย่างเฉียบพลัน มีผลให้ร่างกายของลูกอ๊อดต้องปรับความดันก๊าซในตัวเองลงมาให้เท่ากับความดันของก๊าซในน้ำ ทำให้เกิดฟองก๊าซขึ้นในช่องว่างของลำตัว ท้องลูกอ๊อดจึงบวมขึ้นมา การแก้ไขจะกระทำได้ยากมากจึงควรป้องกันโดยระมัดระวังในเรื่องการถ่ายน้ำอย่าเปลี่ยนน้ำปริมาณมาก ๆ ในเวลาสั้น ๆ และควรจะมีการพักน้ำและเติมอากาศให้ดีก่อนนำมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำบาดาล
แนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต
กบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศและต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ สำหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงช่วงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดปัญหาด้านราคาตกต่ำ แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตามธรรมชาติของกบลดลง ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู่ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการจำหน่าย และราคาก็ดีมีผลคุ้มค่าต่อการลงทุนลงแรง สามารถส่งเป็นสินค้าออกช่วยการขาดดุลให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย